จากเด็กไร้สัญชาติ สู่เป้าหมายเรียนแพทย์ในสหรัฐฯ

จากเด็กไร้สัญชาติ สู่เป้าหมายเรียนแพทย์ในสหรัฐฯ

เมื่อครั้งที่นักประดาน้ำชาวอังกฤษ คือ จอห์น โวลันเธน และริค สแตนตัน ตะโกนถามไปในความมืด ลึกเข้าไปในถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน ว่า “พวกเธอมีกันกี่คน” ก็มีเสียงพูดภาษาอังกฤษจากสมาชิกทีมหมูป่า ตอบกลับไปว่า “13 คนครับ”

จากเด็กไร้สัญชาติ สู่เป้าหมายเรียนแพทย์ในสหรัฐฯ

ข่าว เสียงตอบกลับนั้น เป็นของ ด.ช. อดุลย์ สามอ่อน ที่ภายหลังปรากฏว่า ด.ช. อดุลย์ เป็นผู้สนทนาภาษาอังกฤษกับนักดำน้ำชาวอังกฤษ เพื่อถ่ายทอดคำแนะนำไปยังเพื่อนสมาชิกทีมหมูป่าต่อไป จากวันนั้นเมื่อกว่า 4 ปีก่อน ที่ยังเป็นเด็กชาย เป็นเด็กชายขอบไร้สัญชาติ ผู้มีใจรักในภาษาอังกฤษ มาวันนี้ อดุลย์ แนะนำตัวกับบีบีซีไทย จากโรงเรียนเอกชนในรัฐนิวยอร์กของสหรัฐฯ ว่า “ผมไม่ใช่เด็กชายแล้ว เป็นนายอดุลย์ สามอ่อน อายุ 18 ปี และมิถุนายนนี้ จะเข้า 19 ปี” ปัจจุบัน อดุลย์ เป็นนักเรียนมัธยมชั้นปีที่ 6 หรือเกรด 12 ของโรงเรียน “เดอะ มาสเตอร์ส สคูล” (The Masters School) ในเมืองด็อบบ์ส เฟอร์รี รัฐนิวยอร์ก ของสหรัฐฯ หลังได้รับทุนการศึกษาให้ไปศึกษาต่อหลังจบมัธยมชั้นปีที่ 3 จากประเทศไทย การเสียชีวิตของ “ดอม” หรือ ดวงเพชร พรหมเทพ อดีตกัปตันทีมหมูป่า เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2566 ที่หอพักในโรงเรียนบรู๊ค คอลเลจ ใกล้เมืองเลสเตอร์ ของสหราชอาณาจักร ข่าวเด็ก ทำให้เรื่องราวของทีมหมูป่ากลายเป็นที่สนใจอีกครั้ง โดยเฉพาะ อดุลย์ ที่ได้รับทุนให้ศึกษาต่อในโลกตะวันตกเป็นคนแรก อดุลย์ ยอมรับว่า เหตุการณ์ถ้ำหลวง ได้นำมาสู่ โอกาส” และ “เปิดโลก” จนทำให้เด็กขี้อายคนหนึ่ง เติบใหญ่มาเป็นเด็กหนุ่มกล้าแสดงออก และกล้าฝันไกลถึงการเรียนต่อแพทย์ในระดับมหาวิทยาลัยที่อเมริกา แต่เส้นทางกว่าจะมาถึงจุดนี้ ไม่ได้มาเพียงเพราะชื่อเสียง แต่เต็มไปด้วยความพยายามและฝ่าฟัน และนี่คือเรื่องราวของ อดุลย์ หลังผ่านเหตุการณ์ถ้ำหลวงมากว่า 4 ปี และในวันที่ต้องสูญเสีย ดอม เพื่อนรัก ไปตลอดกาล จากเด็กชายขอบสู่ “พลเมืองโลก”หลังเสร็จสิ้นภารกิจช่วยเหลือ “ทีมหมูป่า” นาน 17 วัน เมื่อเดือน ก.ค. 2561 สมาชิกทีมหมูป่าและโค้ชของพวกเขา กลายเป็นที่สนใจของทั่วโลก จนเรียกได้ว่า พวกเขาเป็น “เหล่าเด็กชายที่โด่งดังที่สุดในโลก” ก็ว่าได้ พวกเขาเดินสายแสดงตัวทั้งในไทยและต่างประเทศ ได้ทำสัญญาลิขสิทธิ์การนำเรื่องราวไปทำภาพยนตร์กับเน็ตฟลิกซ์และไพรม์แอมะซอน ท่ามกลางผู้ติดตามในสังคมออนไลน์ ที่เพิ่มเป็นหลักหมื่นถึงหลายแสน ชนินทร์ วิบูรณ์รุ่งเรือง หรือน้องไตตั้น อดีตทีมหมูป่าอายุน้อยที่สุด เคยบอกกับทีมข่าวบีบีซีว่า “ช่วงแรก ๆ ก็ยาก ต้องปรับตัวเรื่องที่คนรู้จักมากขึ้น ไม่รู้จะวางตัวยังไง เกร็งเวลาเจอกล้อง” แต่ต่อมาก็เริ่มคุ้นชิน