เทรนด์การศึกษาแห่งอนาคต รื้อสร้างหลักสูตร เติมทักษะแก่เด็กGenZ

เทรนด์การศึกษาแห่งอนาคต รื้อสร้างหลักสูตร เติมทักษะแก่เด็กGenZ

“ตลาดงานยุคดิจิทัล” มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เนื่องด้วยผลกระทบหนักจากการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี และวิกฤตโควิด-19 ในช่วงระยะเวลา 2 ปีกว่าที่ผ่านมา

เทคโนโลยี ทั้งผู้ประกอบการที่จ้างงาน คนทำงาน รวมถึงระบบการสร้างคน อย่าง สถานศึกษาต้องปรับตัวรับมือกับทุกสิ่งที่เกิดขึ้นสภาเศรษฐกิจโลก หรือ World Economic Forum (WEF) ได้จัดทำรายงาน Future of Jobs Report 2020 ระบุว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2568) จะเกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ โดยมี 10 ตำแหน่งงานที่จะหายไป ซึ่งส่งผลกระทบกับประชากรราว 85 ล้านคนทั่วโลก แต่ก็มี 10 ตำแหน่งงานใหม่กำลังเป็นที่ต้องการ (เป็นแรงงานที่มีทักษะใหม่) อีกกว่า 97 ล้านคน ซึ่งแปลว่าภาคธุรกิจยังต้องการคนทำงานมากขึ้น แต่เป็นตำแหน่งงานใหม่ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี​เพิ่มขึ้น นอกจากนั้น WEF ยังคาดการณ์ว่าอีก 5 ปีข้างหน้า นักเรียนปัจจุบัน 65% จะทำงานในอาชีพที่ยังไม่เกิดขึ้น และ83% ของบริษัทจะเป็นการทำงานในรูปแบบ Work from anywhere เมื่อในอนาคตการทำงาน การใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่แตกต่างจากเดิม ระบบการสร้างคนต้องพลิกฟื้น พลิกโฉม โดยเฉพาะระบบการศึกษา สถานศึกษาที่ต้องสปีดพัฒนาคนให้ตอบโจทย์กับความต้องการของตลาดงานและประเทศ “ดวงพร พรหมอ่อน” กรรมการผู้จัดการ บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า จ๊อบส์ดีบีได้สำรวจความคิดเห็นกับบริษัทขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็กในประเทศไทย จำนวน 429 บริษัท เกี่ยวกับแนวโน้มสถานการณ์การจ้างงาน ผลตอบแทน และสวัสดิการ ปี 2565-2566 พบว่า แผนการจ้างงานของผู้ประกอบการ 48% ที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีพนักงานมากกว่า 160 คน ได้กลับไปสู่ระดับก่อนเกิดโรคระบาดโควิด-19 แล้วทั้งนี้ ผลกระทบจากโรคระบาด รวมถึงเทคโนโลยีการทำงานระยะไกลที่เกิดขึ้น ได้ส่งผลต่อประเภทงานที่ว่าจ้างเช่นกันบริษัทส่วนใหญ่ที่ร่วมทำแบบสำรวจจะจ้างงานพนักงานแบบเต็มเวลา และมีเพียง 1 ใน 5 บริษัทเท่านั้นที่เลิกจ้างพนักงานอย่างน้อยหนึ่งคนโดยในช่วงหกเดือนที่ผ่านมา สายงานที่ต้องเผชิญกับการถูกเลิกจ้างในช่วงก่อนหน้านี้ กำลังกลับมาเป็นที่ต้องการอีกครั้ง ซึ่งล้วนเป็นสายงานที่ผู้ประกอบการมักนิยมจ้างงานแบบเต็มเวลา เช่น สายงานบัญชี การบริหารผลิตภัณฑ์ ธุรการและทรัพยากรบุคคล เทคโนโลยีสารสนเทศ และการบริการลูกค้า

เทรนด์การศึกษาแห่งอนาคต รื้อสร้างหลักสูตร เติมทักษะแก่เด็กGenZ

นอกจากนั้น ผลสำรวจยังแสดงให้เห็นว่างานที่เกี่ยวข้องกับการบริการลูกค้าเป็นสายงานที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากเทคโนโลยีการทำงานระยะไกลและวัฒนธรรมการทำงานที่ยืดหยุ่น

โดยภายหลังจากสถานการณ์โรคระบาดคลี่คลาย ตำแหน่งงานส่วนใหญ่ในสายงานนี้จะได้รับการว่าจ้าง ข่าวเทคโนโลยี  แบบพนักงานชั่วคราวขณะที่ บริษัทขนาดเล็กมีแนวโน้มที่จะจ้างงานพนักงานประจำแบบเต็มเวลาเพิ่มในอีก 3 เดือนข้างหน้า โดยเฉพาะสายงานการขาย การพัฒนาธุรกิจ การบริหารผลิตภัณฑ์ และไอที อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจเล็งเห็นถึงแนวโน้มที่น่าสนใจ คือ บริษัทอย่างน้อย 3 ใน 5 บริษัท วางแผนเพิ่มแรงงานด้วยการคงจำนวนพนักงานชั่วคราว และปรับเพิ่มจำนวนชั่วโมงทำงานของพนักงานเหล่านี้แทน โดยแนวโน้มดังกล่าวส่งสัญญาณว่าบริษัทขนาดเล็กส่วนใหญ่คาดการณ์ว่ายอดขายและอุปสงค์จะเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม มีบริษัทเพียง 4% เท่านั้นที่วางแผนลดจำนวนพนักงานชั่วคราว โดยพนักงานชั่วคราวส่วนใหญ่ถูกจ้างงานในสายงานการผลิต การบริการลูกค้า และฝ่ายธุรการและทรัพยากรบุคคล เป็น 3 อันดับสูงสุด “โรงเรียนเอกชน” ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจเนื่องจากระบบการศึกษานั้นมีหลากหลายมากกว่าโรงเรียนรัฐ รวมถึงสภาพแวดล้อม และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ค่อนข้างตอบโจทย์ได้ดีกว่า โดยปัจจุบันโรงเรียนเอกชนมี 2 ประเภท นั่นคือ โรงเรียนในระบบมีประเภทสามัญศึกษา 3,738 โรง มีนักเรียน 2,033,857 คน ส่วนประเภทนานาชาติ 235 โรง มีนักเรียน 69,257 คน ขณะที่การศึกษานอกระบบมีทั้งหมด 7,843 โรง มีนักเรียน 1,211,021 คนนายมณฑล ภาคสุวรรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) เล่าว่าตอนนี้โรงเรียนเอกชนต้องปรับตัวทั้งการจัดการเรียนการสอน การนำหลักสูตรทันสมัย เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการศึกษามากขึ้น เพราะนอกจากเรื่องการเปลี่ยนแปลงทั้งภาวะทางเศรษฐกิจและโครงสร้างประชากร ทำให้สถานการณ์ของโรงเรียนในเอกชนมีความท้าทายทั้งที่เป็นปัญหาและโอกาสแล้ว ลักษณะการเรียนรู้ของเด็กรุ่นใหม่พวกเขาจะมีความฉลาดและเข้าใจเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีความอดทนจำกัด เป็นตัวของตัวเอง ดังนั้น การสร้างคนในยุคใหม่จึงต้องลดความรู้จากการท่องจำ มุ่งให้ความสำคัญกับทักษะพื้นฐาน และปล่อยให้เด็กไปศึกษาต่อยอดและสร้างงานขึ้นมาด้วยตัวเอง“โรงเรียนเอกชนต้องสร้างผู้เรียนคุณภาพ ให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง คนดี มีคุณภาพ โดยต้องเน้นการส่งเสริม พัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล การสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ พัฒนาทักษะอาชีพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่เด็ก เพราะปฎิเสธไม่ได้ว่ายุคดิจิทัลนี้ การแข่งขันเข้าสู่ตลาดงานสูงมาก เนื่องจากไม่ได้แข่งเฉพาะคนในประเทศ แต่ต้องสามารถแข่งขันกับผู้คนทั่วโลกได้ ตลาดงานในอนาคตไม่ได้จำกัดเฉพาะประเทศไทย”เลขาธิการกช. กล่าว